"CBAM" คืออะไร? ทำความรู้จักมาตรการภาษีคาร์บอน ก้าวสำคัญของตลาดส่งออก

CBAM คืออะไร - Carbon Footprint คาร์บอน ซีแบม Carbonwize
CBAM คืออะไร | Carbonwize


CBAM คืออะไร?

'CBAM' หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism คือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรปเพื่อปกป้องกันไม่ให้เกิด carbon leakage ซึ่งหมายถึงว่า การที่ผู้ผลิตที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศที่ไม่มีมาตรากรการจัดการการปล่อยก๊าซเรือน กระจกแบบเคร่งครัดส่งสินค้าเข้ามาขายที่สหภาพยุโรป (EU)  

ส่งผลให้นำเข้าสินค้าที่มีต้นทุนสินค้าต่ำกว่าแต่ทางกลับกันคือนำเข้าปริมาณคาร์บอนสูงกว่าเข้ามาในสหภาพยุโรป  เนื่องมาจากไม่มีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับมาตราการของสหภาพยุโรป เรื่องการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า มาตรการนี้มองในอีกนัยหนึ่งคือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers)

ในการนำเข้าสินค้าเข้ายุโรปจะต้องมีการรายงานเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) ของผลิตภัณฑ์ เมื่อมีการรายงานแล้วจะเรียกว่า embedded carbon emissions ซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซเรือนจกของผลิตภัณฑ์ตลอดช่วงการที่ผลิตภัณฑ์ผลิตออกมา ซึ่งจะเก็บคาร์บอนฟุตพริ้นท์ สโคป 1 และสโคป 2 เข้ามาในการคำนวน รวมถึงไปถึงการกำจัดผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน เช่นเดียวกับมาตราฐาน CFP โดย องค์กรก๊าซเรือนกระจกไทย (อบก.) หรือ มาตราฐาน ISO-14067

ข้อกำหนดของ มาตรการปรับราคา คาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนการปล่อยก๊าซคาร์บอน เทียบเท่า ของสินค้า โดยผู้นำเข้าสิ้นค้าต้องซื้อ carbon emission allowances โดยผ่านการประมูลจาก ตลาด EU-ETS (EU Emission Trading System) ในรูปแบบของ CBAM certificate

โดย 1 ใบ CBAM certificate จะเทียบเท่ากับ 1 ton CO2 ซึ่งผู้นำเข้า หรือ ผู้ส่งออกสินค้าไป Europe ต้องซื้อ CBAM certificate ให้ค่าคาร์บอนตรงกับค่าคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากการที่ผลิตสินค้าจำนวนนั้นเพื่อนำเข้าสินค้าไปที่ประเทศในสหภาพยุโรป

ซึ่งปริมาณ carbon emission allowances ที่สามารถซื้อได้จะถูกกำหนดโดยสหภาพยุโรป โดยมีแนวโน้มที่จะลดการจำหน่ายลงในทุกปี ส่งผลให้ CBAM certificate นั้นมีราคาแพงมากขึ้น เป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ผลิตมองหามาตราการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงนั้นเอง ซึ่งราคา carbon emission allowances (CBAM certificate) อยู่ที่ ประมาณ 85 ยูโร ต่อ 1 ตันคาร์บอนเทียบเท่า (รูปประกอบ 1)

ผลกระทบ CBAM - ต้นทุนทางคาร์บอนที่ผู้ส่งออกต้องจ่าย

ยกตัวอย่างการที่ 'CBAM Certificate' ถูกผสานเข้ามาเป็นต้นทุนของผู้ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เหล็กเส้นที่ผู้ประกอบการผลิตขึ้นมา 1 ชิ้น ปล่อยก๊าซคาร์บอน ที่ 1 ตันคาร์บอนเทียบเท่า ก็จะต้องจ่ายค่าปรับทางคาร์บอนที่  85 ยูโร หรือ คิดเป็นเงินไทย 3,270 บาท ผู้ผลิตจะไม่มีเพียงแค่ต้นทุนผลิตสินค้า แต่จะมีต้นทุนทางค่าปรับคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นมา ฉะนั้นผู้ผลิตจะต้องวางแผนกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อป้องกันต้นทุนทางภาษีคาร์บอนที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต

CO2 Emission Allowance EU ETS | Carbonwize
ภาพประกอบที่ 1: ราคา CO2 emission allowance ของตลาดยุโรปและของประเทศอังกฤษ ที่มา : Ember-Climate

'CBAM' กับผลกระทบจากค่าปรับทางคาร์บอนที่ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งรับมือ

มาตราการ CBAM นั้นเริ่มบังคับใช้กับสินค้า 6 ประเภท ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียม ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย พลังงานไฟฟ้า และ ไฮโดรเจน (ภาพประกอบที่ 2)  ซึ่งในปี 2026-2027 จะขยายไปครอบคลุมสินค้าเคมีภัณฑ์และพอลิเมอร์ และ ปี 2030 มีแนวโน้มที่จะครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะนำเข้าไปขายที่สหภาพยุโรป ผู้ประกอบการไทยจึงควรเตรียมรับมือกับ CBAM ตั้งแต่เนิ่นๆ ในการเริ่มประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและผลิตภัณฑ์ เพื่อไม่ให้การดำเนินการทางธุรกิจนั้นสะดุด หรือ ติดขัดจาก เพราะอย่าลืมว่าหัวใจสำคัญ คือการหาวิธีเพื่อ  "ลด"การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้าและประกอบธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนทางภาษีที่เพิ่มขึ้น

CBAM ระเบียบการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน | Carbonwize
ภาพประกอบที่ 2: ระเบียบ มาตรการปรับราคา คาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ที่มา : bangkokbiznews

เกี่ยวกับคาร์บอนไวซ์

Carbonwize เป็น One-stop service ให้บริการการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่ การบริการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริการแพลทฟอร์มจัดการก๊าซเรือนกระจก และบริการจัดหาผู้ทวนสอบในระดับประเทศและอินเตอร์เนชันแนล Carbonwize ไม่เพียงช่วยติดตามและจัดทำรายงานตามมาตรฐานด้วยระบบอัตโนมัติ แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อีกด้วย

แหล่งที่มาข้อมูล: European Commission, Krungsri, SCB-EIC, Salika, Worldbank, Official Journal of the European Union

ติดตามข่าวสารด้านความยั่งยืนเพิ่มเติม

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ 'องค์กร' และ 'ผลิตภัณฑ์' รายงานอย่างไร รูปแบบไหนที่เหมาะกับองค์กรของคุณ

Carbon Footprint (คาร์บอน ฟุตพริ้นท์) คืออะไร? พร้อมวิธีคำนวณที่ธุรกิจต้องรู้

UOB ผนึก Carbonwize หนุน SME ประเมิณคาร์บอนฟุตพริ้นท์-เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ

เทคนิคการประยุกต์ความยั่งยืนสู่ธุรกิจ